วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม ที่ 6

จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีการส่งงานผ่านทางบล็อกนั้น ดิฉันคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหาร เพราะเราสามารถที่จะบันทึกเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร สิ่งดีๆต่างๆ ที่เราต้องการเผยแพร่ ถ่ายทอด  ให้ผู้อื่นรับทราบลงในบล็อกได้อย่างหลากหลาย เป็นช่องทางให้ครูและนักเรียนได้พัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียน  ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการบริหารจัดการ ให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย  มีความรวดเร็ว มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้การเรียน การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อดี ของการทำบล็อก
     1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน คนที่มีทักษะ มีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์น้อยก็สามารถทำได้
     2. ใช้งานได้สะดวก  มีความหลากหลาย  นำเสนอได้ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือ 
     3. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
     4.เป็นเครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร
     5.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่หลากหลาย สามารถค้นหาได้ง่าย ตรงประเด็น
     6.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
ข้อเสียของการทำบล็อก      1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
    2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
     3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้
          หลังจากที่ดิฉันได้รับการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องวิธีการสร้างและใช้งานบล็อกจากท่านอาจารย์แล้ว ทำให้ดิฉันมีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากดิฉันมีความรู้และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์น้อยมาก ใช้งานได้แต่โปรแกรมพื้นฐานง่ายๆ พอสามารถสร้างบล็อกได้ด้วยตนเองทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และมั่นใจว่าเราก็สามารถทำได้ถึงแม้นว่าจะไม่ค่อยสวย ไม่มีการใช้เทคนิคขั้นสูงแต่ก็ทำให้ดิฉันมีความสุขมากกับการได้ฝึกทำบล็อก เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในอนาคตถ้าหากโรงเรียนดิฉันมีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนดิฉันจะนำบล็อกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการพัฒนาตนเองในด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้นดิฉันจะพัฒนาวิชาชีพของตนเองโดยการใช้บล็อกเผยแพร่ผลงาน นวัตกรรม ข่าวสารด้านการศึกษา
ให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ข่าวสารที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน และเมื่อดิฉันมีความรู้ความชำนาญมากขึ้นก็จะนำความรู้ที่มีไปถ่ายทอดให้เพื่อนครู ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจให้สามารถสร้างและใช้งานบล็อกได้ในโอกาสต่อไป

ดูงานมาเลเซีย-สิงคโปร์

กิจกรรมที่ 5 การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

กิจกรรมการศึกษาดูงานเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งการเรียนตามหลักสูตร ป.บัณฑิต (บริหารการศึกษา) เพราะจะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ การบริหารจัดการการศึกษานอกสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ไปศึกษาดูงานด้านการบริหารการจัดการศึกษา ณ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นับได้ว่าได้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งข้าพเจ้าขอเล่าขั้นตอนการไปศึกษาดูงาน เล่าบรรยากาศ พร้อมด้วยภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ดังนี้
1.การวางแผน เริ่มจากการประชุมชี้แจงโครงการกับเพื่อในชั้นเรียน
2.มติที่ประชุมทั้งหมดตกลงไปศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.2554  วันที่ 1 ของการเดินทาง กำหนดเวลาเดินทางวันที่ 24 ม.ค.54 ด้วยรถทัวร์ของบริษัทศิรินครทัวร์ ออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. และแวะรับสมาชิกรายทาง ณ จุดต่างๆ เช่น อ.ร่อนพิบูลย์ สามแยกสวนผัก และที่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ถึงด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย เวลาประมาณ 11.00 น. จัดการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางออกนอกประเทศเสร็จเรียบร้อย และเดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย ผ่านขั้นตอนการตรวจหนังสือเดินทางและสัมภาระ
หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนั่งรถเดินทางสู่ประเทศมาเลเซีย ชมบรรยากาศ ภูมิประเทศ รู้สึกว่าแตกต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ถนนหนทางกว้างขวาง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การขับรถส่วนใหญ่ผู้คนมีการเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด นั่งรถไปเรื่อย ๆ ชื่นชมกับธรรมชาติและบรรยากาศสองข้างทาง เพลิดเพลินกับการฟังเพลงเพราะๆ บนรถสลับกับการสนทนาพูดคุย และถึงจุดแรกคือโรงเรียน Kodiang เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ มีนักเรียน 500 กว่าคน ครู 50 กว่าคน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ 07.00-12.00 น.ที่ประเทศมาเลเซียนักเรียนจะเรียนถึงเที่ยง ส่วนครูนั้นทำการจนถึงประมาณบ่ายสามโมง บรรยากาศในห้องเรียนก็เรียบร้อยดีมาก วันที่ไปถึงนักเรียนเหลืออยู่บางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ดูแล้วเรียบร้อยดี ไม่วุ่นวายเหมือนกับนักเรียนบ้านเรา การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมก็เรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลก็แยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศโดยรวมแล้วบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้หลายอย่าง หลังจากเยี่ยมชมเสร็จแล้วก็ได้มีพิธีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารโรงเรียน Kodiang และกล่าวขอบคุณ พร้อมมอบของที่ระลึกจากคณะนักศึกษา หลังจากนั้นทางโรงเรียนได้จัดอาหารกลางวันคือข้าวมันไก่ไว้เลี้ยงต้อนรับ เสร็จจากนั้นก็อำลากลับขึ้นรถเพื่อเข้าสู่เกาะปีนังต่อไปหลังจากนั้นก็เดินทางเข้าสู่เกาะปีนัง ระหว่างที่นั่งผ่านสองข้างทางระหว่างรัฐเคดาห์ อลอสตาร์ ฮิโปห์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือการทำนาที่กว้างใหญ่มาก พื้นที่สีเขียวเต็มทั้งสองข้างทาง และที่น่าประทับใจอีกอย่างคือสองข้างทางถนนที่รถแล่นอยู่นั้นจะมีรั้วรอบ คล้ายกับตะแกรงเหล็ก ทราบจากไกด์ว่าถนนนี้เป็นถนนมอร์เตอร์เวย์ที่รัฐให้บริการประชาชนซึ่งได้กำหนดไว้ว่าจะต้องรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงที่อาจจะออกมาวิ่งเพ่นพ่านตามท้องถนนอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และอีกอย่างหนึ่งคือประทับใจห้องน้ำ ห้องน้ำที่นี่สะอาดมากเพราะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง การเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมัน ถ้าที่บ้านเราจะมีพนักงานปั๊มมาบริการเติมให้ แต่ที่มาเลเซียเจ้าของรถต้องลงมาเติมเองวิธีการคือ ดับเครื่องรถ ไปซื้อบัตรเป็นการ์ดจากเจ้าหน้าที่แล้วมารูดเองว่าจะเติมกี่ลิตร แต่ที่มาเลย์เขากำหนดให้รถแต่ละคันเติมได้ไม่เกิน 20 ลิตรต่อคัน และต้องเข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง


นั่งรถไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่เกาะปีนั่งในตอนค่ำ เกาะปีนังนี้เมื่อก่อนเป็นของไทยแต่เราต้องเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในสมัย ร.1 เกาะปีนังเป็นรัฐหนึ่งของมาเลย์ เป็นที่ทันสมัยมากมีตึกหรูๆ มากมายหลายตึก มีผู้คนอาศัยอยู่หลายเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอิสลาม ฮินดู และอื่นๆ สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับเกาะฮ่องกง มีแหล่งสำคัญ เช่นย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ ย่านที่พักอาศัย แต่ที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งในมาเลย์คือทุกเมืองเขาจะอนุรักษ์ต้นไม้ การตกแต่งดูแลสิ่งแวดล้อมมีความร่มรื่น และในตัวเมืองคนเขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูไม่วุ่นวายเหมือนบ้านเรา จากนั้นก็รับประทานอาหารเย็น อาหารการกินที่มาเลย์ก็รู้สึกว่าเป็นอาหารรสชาติจืดๆ ไม่คุ้นลิ้นกับคนไทยที่พวกเราชอบ แต่ด้วยความหิวอาหารเย็นมื้อแรกก็เกลี้ยงหมดทุกเมนู หลังจากนั้นก็กลับเข้าพักผ่อนที่โรงแรม
วันที่ 2 ตื่นเช้าเวลา 05.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 06.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย อนุสรณ์ทหารอาสา ถ่ายรูปที่ระลึกตึกแฝดที่เลื่องชื่อ หลังจากนั้นเดินทางสู่เกนติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงด้วยกระเช้าไฟฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา และเข้าพักที่โรงแรม พร้อมเดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายชนิด
วันที่ 3  รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   AQUEEN HOTEL  เดินทางไปชม  สิงโตพ่นน้ำ สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์  รับประทานอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์  บริเวณเมอร์ไลออน  ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถน              ออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง  เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นตามความคิดฝัน  ให้เป็นแหล่งบันเทิง  ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) ที่ตื่นตาตื่นใจ  นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศรอบเกาะเซนโตซา            รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea  ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์  ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย  เข้าพักโรงแรม Selasa  ซึ่งเป็นโรงแรมอยู่ชายแดนมาเลเซียด้านที่ต่อกับประเทศสิงคโปร์
วันที่ 4 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   Selasa  ออกจากโรงแรม    มุ่งหน้าสู่ด่านจังโหลน   แวะรับประทานอาหารเที่ยง   ถึงร้านดิวตี้ฟรี บริเวณชายแดนมาเลเซีย  ให้ทุกคนซื้อของฝาก  และเดินทางสู่ประเทศไทย  ด่านสะเดา  รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย  เดินทางมุ่งหน้าสู่ จ.นครศรีธรรมราช จอดให้นักศึกษาที่ลงระหว่างทาง  2 จุดและเดินทางต่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ประมาณ  23.00 

กิจกรรมที่ 4

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช  อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช  จัดการเรียนการสอน ในระดับ ปวช. และปวส.  สาขาเกษตรกรรมและ พาณิชยกรรม  มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 792  คน
จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้น  130  คน 
            จุดเด่น มีจำนวนครูครบและตรงตามสาขางาน
            จุดด้อย  จำนวนนักเรียนลดลง
           
             งานศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ มีหน้าที่ ดูแลระบบการจัดเก็บข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน  ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลอาคารสถานที่ และข้อมูลอื่นๆ เป็นปัจจุบัน เรียกดูข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯ 
            
              ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการบริหารของวิทยาลัยฯ  คือ

ระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษา RMS 2007      
              สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา  และวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท ได้ร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอาชีวศึกษา และระบบดูแลนักเรียนนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (RMS : 2007)  ขึ้น  เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการทำงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารและร่วมกันแก้ปัญหา ระหว่างสถานศึกษา  ผู้ปกครองและเครือข่ายอาจารย์ที่ปรึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเป็นการร่วมสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในตัวผู้เรียนต่อไป
                  1.  ระบบบริหารจัดการบุคลากร PRMS2007 


                       เป็นการจัดการฐานข้อมูลบุคลากร เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการลา  ประวัติการฝึกอบรม ประวัติเครื่องราชย์ เป็นต้น โปรแกรม PRMS นี้ เปรียบเสมือนโปรแกรมกลางที่เก็บข้อมูลส่วนตัว เก็บรหัสผ่าน ส่งอีเมล์ภายใน และเปรียบเสมือนประตูที่ทำให้ผู้ใช้ระบบทั้งหมดเข้าสู่โปรแกรมอื่นโดยไม่ต้องออกจากโปรแกรม
                  2.  ระบบบริหารจัดการนักเรียน นักศึกษา RSMS2007
                       เป็นการจัดการเรียนเกี่ยวกับข้อมูล นักเรียน นักศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาเลือกกลุ่มของนักเรียน นักศึกษาที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ ระบบจะแสดงข้อมูลนักศึกษา ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลของนักศึกษาทั้งหมด  11 หมวด เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษา  ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว  ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน สุขภาพ พฤติกรรม พฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้น
                   3.  ระบบงานสารบรรณ RSLB2007
                       เป็นระบบการตรวจสอบหนังสือว่ามีหนังสือเข้าจากงานสารบรรณหรือไม่  ซึ่งคุณสมบัติของหนังสือ คือ
                             - เฉพาะหนังสือเวียนของฉันเท่านั้น หมายถึงเป็นผู้เกี่ยวข้องต่อหนังสือนี้เท่านั้น
                          - หนังสือกองกลางที่ทุกคนในระบบสามารถร่วมกันเปิดอ่านได้ หมายถึงหนังสือส่วนกลางซึ่งอาจเกี่ยวกับกับทุกๆ คนในวิทยาลัย บุคลากรในระบบทุกคนสามารถร่วมกันเปิดอ่านได้
                             - หนังสือเผนแพร่ หรือ หนังสือ อศจ. คือหนังสือที่จะแสดงไว้หน้าเว็บ โดยเผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไป ซึ่งสามารถเปิดอ่านหรือดาวน์โหลดได้

กิจกรรมที่ 3 สรุปความรู้การใช้โปรแกรมspss

สรุปความรู้ที่ได้รับจากฝึกปฏิบัติ การใช้งานโปรแกรมspss     1.กำหนดค่าใน variable view
         - name   พิมพ์  ชื่อ เพศ,a1,a2,......,d3
         - width   ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
         - deimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
         - value-ใส่ค่า 1น้อยที่สุด 2น้อย 3ปานกลาง 4มาก 5มากที่สุด
     2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(ตัวอย่าง20 ชุด)
     3.การวิเคราะห์ข้อมูล
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
         - transform-compute-พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
         - เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
         - คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3  แล้วคลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS